

Load Balance กับ อินเตอร์เน็ต📍✔️ ปัจจุบันการใช้งานอินเตอร์มีความสำคัญกับธุริจมากขึ้นและเป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งในการทำงานอีกด้วย อีกทั้งมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น จำนวนลิงค์ที่ใช้งานอยู่อาจไม่เพียงพอต่อการใช้งาน การเพิ่มขนาดของลิ๊งค์ที่มีก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่การเพิ่มจำนวนลิ๊งค์มากกว่า 1 ลิงค์ กลับมีข้อดีมากกว่าเพราะนอกจากจะเพิ่มขนาดของอินเตอร์เน็ตให้ใช้งานเพิ่มแล้วยังจะเพิ่มความเสถียรในการใช้งานอีกด้วย เพราะในกรณีที่มีลิงค์เดียวหากลิงค์หลักที่ใช้งานอยู่เกิด Down จะไม่สามารถใช้งานอินเตอร์ได้เลย หากมีลิงค์ที่ 2,3 หรือ 4 มาใช้งานร่วมกันและทดแทนกันก็จะลดผลจะเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้งาน และ ในเชิงธุรกิจ บางหน่วยงานมีแผนบริหารจัดการแยกการใช้งานลิงค์ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น E-Mail, Broadcast, VoIP และ VPN ใช้งานลิงค์ Leased Line ที่มีราคาสูง และแยกการใช้งาน Website และอื่นๆ ไปใช้งานลิงค์ประเภท ADSL ที่มีราคาถูก เป็นต้น เพื่อลดปัญหาการใช้งานลิงค์ใดลิงค์หนึ่งจนเต็ม และสุดท้ายอาจจะมีการทำการ Backup ซึ่งกันและกันในกรณีที่อีกลิงค์นึงล่ม
☝️อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ช่วยบริหารจัดการการการใช้งานหลายลิงค์ (Multi WAN) ที่ดี ควรจะมีระบบตรวจเช็คสถานะของลิงค์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันว่าปกติดีหรือไม่ เช่น การตรวจสอบโดยการ Ping ไปยังปลายทางต่างๆ หรือ Lookup DNS ที่เรากำหนดได้หรือไม่ อุปกรณ์ที่สามารถจัดการ และ ตรวจสอบระบบของลิงค์ได้ดีในระดับ Enterprise และ คุณภาพอยู่ในระดับ Business Grade จะไม่เพียงแค่ตรวจสอบสถานะของลิงค์เท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจสอบว่าลิงค์เส้นนั้นๆแม้ว่าจะไม่ได้ล่ม แต่สามารถตรวจสอบได้ว่าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่อีกด้วย เพราะในบางครั้งลิงค์นั้นๆไม่ได้ล่มแต่มีปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตจาก ISP อุปกรณ์ Load Balance ที่ดีควรจะรู้และจัดการให้ไปใช้แต่ลิงค์ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้จริงๆเท่านั้น
☝️Peplink คืออุปกรณ์ Load Balance สำหรับจัดการลิงค์ที่มีจำนวน มากกว่า 2 ลิงค์ขึ้นไปจนถึง 13 ลิงค์ที่ช่วยลดประสบปัญหาจากข้อจำกัดของการเอา Router ทั่วไปนำมาทำ Load Balance เพื่อรวม Bandwidth แล้วเกิดปัญหาการใช้งานเนื่องจากมีข้อจำกัดมากมายทั้งเรื่องการตรวจสอบลิงค์หรือ Health Check และ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ Load Balance ทำได้ดีกว่า Router หรือ Firewall ทั่วไปก็คือ การบริหารจัดการใช้งานหรือ Algorithm โดย Peplink มีให้เลือกใช้มากถึง 7 แบบ (Algorithm) ดังต่อไปนี้
👉 1. Weighted Balance : สามารถจัดการ Traffic และแบ่ง Traffic ออกไป WAN ตามที่กำหนดไว้เป็นแบบสัดส่วน (Ratio) ในส่วนนี้จะใช้บริหารจัดการลิงค์ที่มีขนาดไม่เท่ากัน เช่น เส้นหนึ่งมีขนาด 200Mbps แต่อีกเส้นหนึ่งมีขนาด 50Mbps การใช้ Weighted Balance จะสามารถใช้ประโยชน์ลิงค์ที่ไม่เท่ากันได้ให้ใช้งานร่วมกันได้ตามอัตราส่วนโดยลิงค์ที่มีขนาดใหญ่จะถูกใช้มากกว่าหรือตามที่เรากำหนดเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด


👉2. Priority: กำหนด Traffic ขาออก WAN ตามลำดับที่เลือกไว้ ถ้าหาก WAN ลำดับต้น Down ไม่สามารถใช้งานได้ Traffic ขาออกจะถูกใช้งานใน WAN ถัดไปตามที่ได้กำหนดไว้ ในกรณีนี้ลิงค์ที่มี Priority ต่ำกว่าจะมีเอาไว้เพื่อสำรอง
👉3. Overflow : กำหนด Traffic ให้ออกไปที่ WAN อันดับแรกก่อน การทำงานจะคล้ายในแบบ Priority แต่การทำงานจะใช้ WAN แรกที่กำหนดไว้ให้เต็มก่อน แล้วจึงไปใช้ WAN ถัดไปที่กำหนดไว้ตามลำดับ


👉4. Persistence : สามารถจัดการ Traffic ให้คงสภาพ Session แบบ By Source หรือ By Destination จนกว่าการใช้งานนั้นจะสิ้นสุดการทำงาน (เหมาะสำหรับ Internet Banking , Web HTTPS หรือ Web ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย) โดยส่วนมากจะนิยมเลือกใช้งานสำหรับยืนยันต้นทางที่ไปใช้งานปลายทาง เช่น Service https ftp ทำธุระกรรมทางธนาคาร หมายเลขไอพีต้นทางจะไม่ถูกเปลื่ยนออกไปใช้งานลิงค์อื่นจนกว่าจะจบการใช้งาน หมดปัญหาเรื่องเปลื่ยนหน้าเพจ และหลุดใช้งานต่อไม่ได้ต้อง Login เข้าใช้งานใหม่เพราะหมายเลขไอพีต้นทางเปลื่ยน
👉5. Least Used : การทำงานโดยเลือกใช้งาน WAN ที่มีการใช้งาน Bandwidth น้อยที่สุด ก่อน จุดประสงค์เพื่อเฉลี่ยการใช้งานลิงค์ต่างๆอย่างคุ้มค่าในปริมาณการใช้ให้เท่าๆกันที่สุด โดยส่วนมากจะนิยมเลือกใช้งานลิงค์ที่เท่ากัน หรือ ไม่ต่างกันมากในการใช้งาน


👉6. Lowest Latency : การทำงานโดยเลือกใช้งาน WAN ที่เร็วที่สุดก่อน จุดประสงค์เพื่อเลือกใช้งานลิ๊งค์ที่เร็วที่สุด เหมาะกับการใช้ Voice หรือ VDO ที่ต้องการสื่อสารที่รวดเร็ว
👉7. Enforced : คือการบังคับให้ Traffic ขาออก ออก WAN ใด WAN หนึ่ง ถ้าหาก WAN นั้นเกิด Down จะไม่สามารถใช้งานได้ ในส่วนนี้จะใช้บริหารจัดการกับ Service หรือ Protocol ที่จำกัดการใช้งานให้เปิดรับแบบเฉพาะหมายเลขไอพีต้นทางลิงค์ใดลิงค์นึงที่ทำการแจ้งกับปลายทางเอาไว้เท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

📌จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ Load Balance เฉพาะทางมีความหลากหลายและใช้ประโยชน์ในการทำ Multi Link ได้จริง
5,222 total views, 2 views today